วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สงครามโลกครั้งที่ 2

มหาสงครามโลกครั้งที่ 2

ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอยู่หลายสาเหตุ ดังนี้
สนธิสัญญาแวร์ซายส์
     1. ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์  
     2. ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ รวมไปถึงปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายหลังที่สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง
     3. การเกิดขึ้นของลัทธิชาตินิยมในเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น
     4. ชาติต่างๆ หันไปสะสมอาวุธและเตรียมพร้อมทางการทหารมากขึ้น จึงเกิดบรรยากาศอันตรึงเครียดระหว่างชาติ
     5. การที่อังกฤษไม่ลงโทษเยอรมันอย่างเด็ดขาด เมื่อเยอรมันละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เช่น การที่เยอรมันสะสมอาวุธไว้ในกองทัพมากยิ่งขึ้น
     6. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติซึ่งปราศจากกองกำลังอันเป็นของตังเอง ทำให้มีสภาพบังคับอันเด็ดขาด เมื่อชาติสมาชิกกระทำการอันละเมิดข้อบังคับ  
องค์กรสันนิบาต

เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นแล้ว โดยเฉพาะความไม่เป็นธรรมในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ จึงทำให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมันในวันนั้นตัดสินใจประกาศยกเลิกผลของสนธิสัญญาฉบับนี้ และยกทัพบุกโจมตีโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทำให้ฝรั่งเศสและอังกฤษรวมทั้งประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพประกาศสงครามต่อเยอรมัน ซึ่งถือได้ว่าเหตุการณ์ที่กองทัพเยอรมันโจมตีโปแลนด์เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กระนั้นก็ยังมีแนวความเห็นที่แตกต่างออกไปว่า สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยกกองทัพบุกแมนจูเรียของจีน การเกิดข้อพิพาทระหว่างอังกฤษและอิตาลี เนื่องจากว่าอิตาลียกทัพบุกเอธิโอเปีย หรือการเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศสเปน เป็นต้น เหตุต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นข้อถกเถียงว่า แท้ที่จริงแล้วสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นจากเหตุการณ์ใด
การที่กองทัพเยอรมันรุกรานโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทางฝ่ายเยอรมันได้เตรียมการมาเป็นอย่างดี กล่าวคือ ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1939 กองทัพเยอรมันได้จัดให้ทหารของตนกลุ่มหนึ่งแต่งกายเป็นทหารโปแลนด์ แล้วทำการบุกโจมตีสถานีวิทยุเยอรมัน เมื่อยึดเป้าหมายที่ต้องการได้แล้ว ทหารเยอรมันในชุดเครื่องแบบของทหารโปแลนด์ก็ได้เผยแพร่ เสียงผ่านทางวิทยุแห่งนั้น โดยที่เนื้อความเป็นไปในทางต่อต้านเยอรมัน เพื่อให้เหตุการณ์นี้เป็นการก่อวินาศกรรม แผนการของฝ่ายเยอรมันที่ดำเนินไปเช่นนี้ ทำให้กองทัพเยอรมันอาศัยเหตุการณ์นี้เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมในการเคลื่อนทัพเข้ารุกรานโปแลนด์
          ก่อนที่เยอรมันจะรุกรานโปแลนด์ โซเวียตและเยอรมันได้ทำสนธิสัญญา “สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟ" (บางครั้งเรียกสนธิสัญญานาซี-โซเวียต)
สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟ
ซึ่งมีใจความหลักคือ เยอรมันและโซวัยตจะไม่รุกรานซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นในสนธิสัญญาดังกล่าวก็ยังมีข้อตกลงที่เป็นความลับระหว่างกันด้วย โดยมีการตกลงจะแบ่งพื้นที่ของยุโรปตะวันออก ดังนั้น เมื่อโปแลนด์พ่ายแพ้แล้ว เยอรมันและโซเวียตจึงแบ่งประเทศโปแลนด์ออกเป็นส่วนๆ และแผ่ขยายอิทธิพลของตนเข้าไปในดินแดนเหล่านั้น
แม้ว่าเยอรมันและโซเวียตจะมีความร่วมมือกัน แต่โชคดีก็เป็นของชาวโลกที่ในเวลาต่อมากองทัพเยอรมันนำทหารบุกโจมตีโซเวียตภายใต้แผนปฏิบัติการ “บาร์บอรจอสซา” โซเวียตจึงได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเต็มตัว
          การรุกรานโปแลนด์โดยกองทัพเยอรมัน ทำให้ประเทศต่างๆ ในโลกแบ่งออกเป็นสองขั้วอำนาจ คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allies) ประกอบไปด้วยอังกฤษและประเทศในกลุ่มเครือจักรภพ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา จีน โซเวียต เป็นต้น

2. ฝ่ายอักษะ (Axis) ประกอบไปด้วยเยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ฮังการี โรมาเนีย ไทย เป็นต้น โดยเยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ได้ทำสนธิสัญญา 3 ฝ่าย ต่อกัน ซึ่งเนื้อหาหลักในสนธิสัญญาก็คือ หากฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับประเทศใดใน 3 ประเทศนี้ จะถือว่าเป็นการประกาศสงครามกับทั้ง 3 ชาติ